ยุคที่ 3 รักมิตร(ต่อ) พม่ากับไทย
ในสมัยรัชกาลที่ 3 ชาวเมืองมณีปุระเป็นกบฏ พม่าต้องจัดการปราบ พวกกบฏหนีเข้าไปในแคว้น อัสสัมของอินเดียซึ่งอยุ่ในความดูแลของอังกฤษ จึงเกิดสงครามระหว่างพม่ากับอังกฤษ การรบทางบกอังกฤษสู้พม่าไม่ได้เพราะพม่าชำนาญภูมิประเทศมากกว่า อังกฤษจึงเปลี่ยนมารบทางเรือ เวอร์ อาร์ชิเบลด์ แคมป์เบล แม่ทัพเรือของอังกฤษ ทำการรบทางอ่าวเบงกอลและอ่าวเมาะตะมะ ยึดหัวเมืองชายทะเลได้เป็นจำนวนมาก แต่มีปัญหาเรื่องเสบียงอาหารและพาหนะจึงชวนไทยช่วยรบพม่า โดยให้ร้อยเอกเฮนรี เบอร์นี่ เป็นทูตเข้ามารัชกาลที่ 3 โปรดให้ เจ้าพระยามหาโยธา (ทอเรีย ) คุมทัพบกไปช่วยรบทางด่านเจดีย์สามองค์ ให้พระยาชุมพร (ซุย) คุมทัพเรือไปช่วยรบทางเมืองมะริดและเมืองทวาย แต่ไทยกับอังกฤษมีเรื่องขัดแย้งกัน ทางเมืองหลวงจึงเรียกทัพกลับหมด
อังกฤษไม่ละความพยายาม เข้ามาชวนไทยรบอีก โดยสัญญาว่าจะแบ่งดินแดนของพม่าทางด้านอ่าวเบงกอลให้ ไทยได้ช่วยอังกฤษอีก เมื่ออังกฤษชนะสงครามไทยได้ขอดินแดนจากอังกฤษแต่อังกฤษบ่ายเบี่ยงบอกว่ายังไม่สิ้นสุดสงคราม ไทยไม่พอใจจึงระงับการช่วยอังกฤษและยกทัพกลับ
ในปี พ.ศ. 2393 การตีเมืองเชียงตุง เนื่องจากพม่าแพ้สงครามต่ออังกฤษ ต้องเสียค่าปรับมากมาย จึงบังคับเอาเงินจากเมืองขึ้นไปช่วย เชียงตุงเป็นเมืองขึ้นของพม่าต้องไปบังคับเอาจากเมืองเชียงรุ้ง ชาวเมืองเชียงรุ้งเดือดร้อนจึงก่อการกบฏมาขอ
ผลดีที่ไทยได้ช่วยเหลืออังกฤษรบกับพม่า
1. ไทยกับอังกฤษได้เป็นไมตรีต่อกัน
2. พม่าไม่มีโอกาสมารบกวนไทยอีก
3. ไทยได้มีโอกาสจัดการรบกับเขมรและญวน
4. ยุติปัญหาเรื่องเมืองไทรบุรี โดยตกลงว่าไทยจะไม่ยุ่งเกี่ยวกับหัวเมืองมลายูของอังกฤษและอังกฤษจะไม่ยุ่งเกี่ยวกับเมืองไทรบุรีของไทย
อังกฤษกับไทย ในสมัยรัชกาลที่ 3 อังกฤษต้องการให้ไทยช่วยรบกับพม่า ลอร์ด แอมเฮอสต์ ผู้สำเร็จราชการประจำอินเดียของอังกฤษ ได้ส่งร้อยเอกเฮนรี เบอร์นี่Captian Henry Burney ซึ่งคนไทยในสมัยนั้นเรียก “กะปิตัน หันตรี บารนี” เป็นทูตเข้ามาเจรจากับไทย โดยมีความต้องการ 4 ประการคือ
1. เพื่อพยายามรักษาสัมพันธไมตรี อย่าให้ไทยเป็นอริกับอังกฤษได้
2 . เพื่อขอกำลังจากไทยไปช่วยอังกฤษรบกับพม่า
3 . เพื่อชักชวนให้ไทยยอมทำสัญญาการค้ากับอังกฤษ
4 . เพื่อทำความตกลงกันในปัญหาเมืองไทรบุรีและหัวเมืองมลายู
เมื่อไทยกับอังกฤษตกลงกันได้จึงทำสัญญาต่อกันนับเป็นสัญญาโดยสมบูรณ์ฉบับแรกในสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ มีชื่อเรียกว่า “สัญญาเบอร์นี่” มีภาษากำกับถึง 4 ภาษาคือภาษาไทย ภาษาอังกฤษ ภาษาโปรตุเกสและภาษามลายู ลงวันที่ 20 มิถุนายน พ.ศ. 2369 มีสาระสำคัญดังนี้
“ไทยกับอังกฤษจะมีไมตรีต่อกัน จะไม่คิดร้ายต่อกัน จะไม่แย่งชิงเอาบ้านหรือดินแดนซึ่งกันและกัน ถ้ามีคดีเกิดขึ้นภายในอาณาเขตประเทศไทยก็ให้ไทยตัดสินตามใจไทยตามขนบธรรมเนียมประเพณีไทย ทั้งสองฝ่ายจะอำนวยความสะดวกในการค้าต่อกันเป็นอันดี จะอนุญาตให้พ่อค้าของอีกฝ่ายหนึ่งเข้าไปตั้งหรือเช่าบ้านเรือนโรงสินค้าและร้านค้าได้ แต่คนของอีกฝ่ายหนึ่งที่เข้าไปอยู่ในอาณาเขตของอีกฝ่ายหนึ่งจะต้องปฏิบัติตามกฎหมายของอาณาเขตนั้นทุกประการ”
สัญญาที่เกี่ยวกับการค้ามีสาระดังนี้
1. เรือของชาวอังกฤษหรือชาวเอเชียในบังคับอังกฤษที่เข้ามาค้าขายในกรุงเทพ ฯ จะต้องปฏิบัติตามกฎหมายไทย ทุกประการ จะซื้อข้าวสารหรือข้าวเปลือกออกนอกประเทศไม่ได้
2. ถ้าเรือนั้นนำอาวุธปืน กระสุนปืนหรือดินดำเข้ามาจะต้องขายให้รัฐบาลเท่านั้นถ้ารัฐบาลไม่ต้องการต้องนำออกไป
3. นอกจากข้าวและอาวุธยุทธภัณฑ์แล้ว อนุญาตให้พ่อค้าอังกฤษกับพ่อค้าไทยซื้อขายกันได้โดยสะดวกเสรี
4. เรือที่นำสินค้าเข้ามาขายในเมืองไทยนั้น จะต้องเสียภาษีเบิกร่องหรือค่าปากเรือ ในอัตราวาละ 1,700 บาท ถ้ามิได้บรรทุกสินค้ามาจะเสียในอัตราวาละ 1,500 บาท ทั้งนี้ไม่ต้องเสียภาษีขาเข้าขาออกอีก
5. พ่อค้าอังกฤษ จะเป็นชาวยุโรปก็ดี หรือชาวเอเชียก็ดีตลอดจนผู้บังคับการเรือ นายเรือ ลูกเรือที่เข้ามาค้าขายในเมืองไทยนั้นจะต้องปฏิบัติตามกฎหมายไทยทุกประการ ถ้าหากมีการกระทำผิดขึ้น ก็ให้เจ้าหน้าที่ผู้มีอำนาจตัดสินลงโทษได้ ในกรณีฆาตกรรมโดยเจตนา ผู้กระทำผิดจะต้องถูกประหารชีวิต โทษอย่างอื่นถ้าเป็นความผิดก็ให้ปรับ โบยหรือจำคุกตามกฎหมายไทย
ในตอนปลายรัชกาลที่ 3 อังกฤษได้ส่ง เซอร์ เจมส์ บรุค เข้ามาขอแก้ไขสัญญาการค้าที่เฮนรี เบอร์นี่ได้ทำไว้แต่ไม่เป็นผลสำเร็จพอดีเปลี่ยนรัชกาลเสียก่อน
อเมริกากับไทย
ความสัมพันธ์ระหว่างไทยกับสหรัฐอเมริกาได้มีขึ้นครั้งแรกในสมัยรัชกาลที่ 3 เมื่อ พ.ศ. 2376 โดยประธานาธิบดี แอนดรูว์ แจ๊คสัน ได้ส่ง เอ็ดมันด์ โรเบอร์ตEdmund Roberts คนไทยเรียก “เอมินราบัด” เป็นทูตเข้ามาทำสัญญาการค้ากับไทย ทำนองเดียวกับอังกฤษที่ เฮนรี เบอร์นี่ ทำไว้ เนื่องจากสัญญาฉบับดังกล่าว ไม่สู้จะเกิดประโยชน์ต่อพ่อค้าชาวอังกฤษและอเมริกันมากนัก ดังนั้นในปี พ.ศ. 2393 อเมริกัน ได้ส่ง โยเซฟ บัลเลสเตียร์ Joseph Balestier เข้ามาขอแก้ไขสนธิสัญญา ที่ทำไว้ เมื่อ ปี พ.ศ. 2375 แต่เนื่องจาก โยเซฟ บัลเลสเตียร์ Joseph Balestier ไม่เข้าใจขนบธรรมเนียมไทย พูดจากร้าวร้าว จึ่งไม่สามารถแก้ไขสนธิสัญญาได้ปรองดองกันและรัชกาลที่ 3 ก็ประชวรด้วยสวามิภักดิ์ต่อไทย รัชกาลที่ 3 ทรงรับไว้แล้วโปรดให้จัดทัพไปตีเมืองเชียงตุง แต่ไม่สำเร็จเพราะเจ้านายเมืองเหนือไม่
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น