รัชกาลที่ 4

  • ยุคที่ 4 สนิทธรรม
เป็นช่วงรัชกาลที่ 4 พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ก็เป็นที่ทราบกันดีอยู่แล้วว่า พระองค์ท่านทรงออกผนวชนานถึง ๒๗ พรรษา ตลอดรัชกาลที่ ๓ เลยก็ว่าได้ จะเรียกว่าบวชลี้ภัยการเมืองก็ได้ เพราะขนาดออกบวชแล้ว ยังไม่วายถูกใส่ร้ายป้ายสี ว่าจะก่อการกบถเลย(ดีนะครับที่ล้นเกล้ารัชกาลที่ ๓ ท่านทรงมีน้ำพระทัยหนักแน่น เยือกเย็น ไม่หูเบา) ดังนั้นเมื่อพระองค์ท่านลาสิกขาขึ้นครองราชย์ตามคำกราบบังคมทูลเชิญของข้าราชบริพารจึงทรงฝักใฝ่ในธรรม สนับสนุนการเผยแพร่จริยธรรม ตลอดจนการพระศาสนาต่างๆ พระองค์เองก็ทรงชุดขาวถือศีล ๘ อย่างเคร่งครัด ฟังธรรมทุกวันธรรมสวณะจึงเรียกยุคนี้ว่า"ยุคสนิทธรรม"
สมเด็จเจ้าฟ้ามงกุฎยังทรงสนพระทัยในด้านพระพุทธศาสนาอยู่เสมอ โดยเมื่อพระชนมายุครบผนวชพระองค์ได้ทรงผนวช ณ วัดพระศรีรัตนศาสดาราม เมื่อ พ.ศ.๒๓๖๗ ทรงได้รับพระฉายาว่า “วชิรญาณภิกขุ” ประทับอยู่ ณ วัดมหาธาตุ ๓ วัน แล้วจึงเสด็จไปจำพรรษาที่วัดสมอราย (วัดราชาธิราช) หลังจากทรงผนวชได้เพียง ๒ สัปดาห์ พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย พระบรมชนกนาถก็เสด็จสวรรคต แต่มิได้ตรัสมอบพระราชสมบัติให้กับผู้ใด พระบรมวงศานุวงศ์จึงประชุมลงมติในที่ประชุมว่าควรอัญเชิญพระเจ้าลูกเธอกรมหมื่นเจษฎาบดินทร์ ขึ้นเถลิงถวัลย์ราชสมบัติสืบแทน สมเด็จฟ้ามงกุฎจึงมิได้ทรงลาผนวช และทรงผนวชอยู่ตลอดรัชสมัยของรัชกาลที่ ๓ ทำให้ทรงมีเวลามากมายในการศึกษาหาความรู้ในวิชาการแขนงต่างๆ จนแตกฉาน


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น