รัชกาลที่ 6

  • ยุคที่ 6 ราษฎร์จน
เป็นในสมัยรัชกาลที่ 6 พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว เป็นยุคที่ไทยเรามีการนิยมของนอก มีการฟุ้งเฟ้อ เอาอย่าง เลียนแบบ วัฒนธรรมตะวันตก โดยเฉพาะในหมู่ข้าราชบริพาร ขุนน้ำขุนนางในราชสำนัก มีการแต่งตั้งยศถาบรรดาศักดิ์กันมากเกินไป จนแทบจะไม่มีความหมาย เป็นยุคเริ่มต้นแห่งภัยพิบัติในด้านเศรษฐกิจที่จะตามมาในยุคต่อไป การกระทำเช่นนี้ถือว่าเป็นการปล้นชาติ ปล้นแผ่นดิน ทำลายแผ่นดินทางอ้อม ในสมัยนี้มีผู้คิดปฏิวัติเปลี่ยนแปลงการปกครองเหมือนกัน แต่ทำไม่สำเร็จกลายเป็นกบฎไป (กบฎ รศ.๑๓๐)
เมื่อ 23 ตุลาคม 2453 รัชกาลที่ สวรรคต เจ้าฟ้าวชิราวุธได้ครองราชย์ ขึ้นครองราชย์เป็นรัชกาลที่ แต่สถานการณ์ทางเศรษฐกิจก็มิได้ดีขึ้น เพราะรัฐศักดินาแทบจะไม่ได้พัฒนาชลประทานของประเทศ สิ่งนั้นทำให้ผู้คนซึ่งอดอยาก แต่พระองค์ไม่นำพารายงานดังกล่าว กลับใช้จ่ายเงินฟุ่มเฟือยมากขึ้นเรื่อยๆ ในเรื่องโขนละคร โดยไม่ยอมเจียดเงินไปพัฒนาประเทศชาติเลย งบประมาณส่วนที่ประชาชนได้รับประโยชน์ยังคงมีน้อยนิดเดียวไม่ผิดกับในสมัยรัชกาลที่ พระองค์ใช้จ่ายเงินสุรุ่ยสุร่าย จนมีหนี้สินหลายล้านบาท ทั้งที่กษัตริย์เพียงคนเดียวได้รับงบประมาณมากกว่างบสร้างเขื่อนให้ประชาชนไม่รู้กี่เท่าตัว ซึ่งสถานทูตอังกฤษบันทึกว่า หนี้ส่วนหนึ่งเกิดจากการซื้อเพชรพลอย อัญมณีแจกจ่ายข้าราชบริพารคนโปรด กษัตริย์บีบบังคับให้กระทรวงพระคลังมหาสมบัติจ่ายเงินแผ่นดิน อันเป็นภาษีอากรของประชาชนใช้หนี้ให้แก่ตน นอกเหนือจากงบประมาณสำหรับกษัตริย์ถึง ล้านบาท


มหาดเล็กคนโปรดของพระองค์ คือเจ้าพระยารามราฆพ (มล.เฟื้อ พึ่งบุญ) และพระยาอนิรุทธเทวา (มล.ฟื้น พึ่งบุญ)สองคนพี่น้องนั้น เป็นผู้ได้ประโยชน์มากที่สุด คนพี่ได้บ้านไทยคู่ฟ้า คือทำเนียบรัฐบาลปัจจุบันเป็นของขวัญ ส่วนเจ้าคุณอนิรุทธิ์เทวาได้บ้านพิษณุโลก และข้าราชบริพารคนโปรดอีกคนหนึ่งได้บ้านมนังคสิลา คฤหาสน์ยักษ์ทั้ง หลัง ซึ่งมีบ้านไทยคู่ฟ้าใหญ่ที่สุดที่พระองค์สร้างขึ้น เพื่อมอบให้เป็นกรรมสิทธิ์แก่คนโปรดนี้มีราคาแพงมหาศาล ถ้าปัจจุบันนี้ใช้เงินถึง 10-20 ล้านบาทก็ยังสร้างไม่ได้ เพราะเพียงบ้านพิษณุโลกหลังเดียวที่รัฐบาลจอมพล ป. บังคับซื้อจากเจ้าคุณอนิรุทธิ์เทวาในราคาถูกนั้น รัฐบาลจะซ่อมแซม สำหรับใช้เป็นที่พักอาศัยของนายกรัฐมนตรี ก็ยังตั้งงบประมาณนับสิบล้านบาททีเดียว
เจ้าฟ้าวชิราวุธ เป็นกษัตริย์สยามองค์แรกที่ผ่านการศึกษาจากตะวันตก จบจากออกฟอร์ดอังกฤษแล้วเข้าเรียนวิชาการทหารที่แซนเฮิร์ส ทรงกำหนดวันหยุดนักขัตฤกษ์ขึ้นอีกสองวัน คือ วันจักรีและวันมหาจุฬาลงกรณ์ (วันปิยะมหาราช)
นอกจากรัชกาลที่ ที่มีลูกถึง 77 คนแล้วเจ้าฟ้าอีกคนหนึ่งในรุ่นเดียวกันก็มีลูกถึง 73 คน และหลายคนมีลูกคนละ 40-50 คน(กรมพระยาดำรงราชานุภาพ ต้นสกุลดิศกุลซึ่งเป็นโอรสองค์ที่ 57 ของรัชกาลที่ มีโอรสและธิดารวม 37 องค์)
บรรดาลูกท่านหลานเธอเหล่านี้เป็นภาระหนักอึ้งของท้องพระคลัง หรืองบประมาณแผ่นดิน สมัยรัชกาลที่ ได้ลดภาระ โดยการไม่ให้ลูกสาวจำนวนมากของพระองค์แต่งงาน อย่างน้อยก็อย่างเป็นทางการ
รัชกาลที่ ทรงชอบเก็บตัวไม่ค่อยได้ใกล้ชิดกับเชื้อพระวงศ์ที่ช่วยค้ำราชบัลลังก์ และชอบคลุกคลีกับพวกหนุ่มๆที่เป็นสามัญชนโดยมักหลีกเลี่ยงการว่าราชการงานเมือง ไปเพลิดเพลินอยู่กับวรรณคดีการละคร และขบวนแห่แหนทางทหาร
ในต้นปี 2355 มีนายทหารหนุ่มหลายสิบคน วางแผนยึดอำนาจเปลี่ยนการปกครอง เรียกว่ากบฏ ร.ศ. 130 แต่ทำไม่สำเร็จเพราะแผนการรั่วไหลไปถึงพระอนุชาธิราช จอมพล สมเด็จเจ้าฟ้าจักรพงษ์ภูวนาถ กรมหลวงพิษณุโลกประชานาถ เสียก่อน
ปี 2463 เกิดความล้มเหลว ที่สะสมมาจากการบริหารราชการแผ่นดิน และภาวะเศรษฐกิจตกต่ำทั่วโลกขาดดุลงบประมาณอย่างหนัก งบประมาณไม่พอใช้ เพราะกษัตริย์ใช้จ่ายงบทางทหารมากข้าราชการทุจริตและสิ้นเปลืองเงินไปกับกิจกรรมของกองเสือป่า ประชาชนเสื่อมศรัทธาพวกราชวงศ์และสถาบันกษัตริย์
แต่รัชกาลที่ ยืนยันเป็นคำขาด ว่าเป็นพระราชอำนาจของพระองค์แต่เพียงผู้เดียว ที่จะตัดสินพระทัยในนโยบายใดๆของรัฐก็ตาม โดยไม่มีใครกล้าโต้แย้ง เมื่อรัชกาลที่ สวรรคต เจ้าฟ้าประชาธิปกจึงได้สืบราชบัลลังก์เพราะเป็นพระอนุชาร่วมพระมารดา

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น